บริการสืบค้น

Custom Search

PostHeaderIcon วัดสุปัฏนารามวรวิหาร


                วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสมเด็จ อ. เมือง จ.อุบลราชธานี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ได้ตั้ง ริมฝั่ง แม่น้ำมูล ซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ของ ตัวเมืองอุบลราชธานี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีเนื้อที่ ทั้งหมด 21 ไร่ 38 ตารางวา วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคอีสาน มีสถานะเป็นพระอาราม  หลวงชั้นตรี สร้างในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยมีกระแสพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้คณะกรรมการเมืองอุบลราชธานี มีพระพรหมราชวงศ์ ( กุทอง ) เป็นประธานเลือกพื้นที่วัด คณะกรรมการ  ดังกล่าวเห็นว่า ที่ท่าเหนือระหว่างเมืองกับบุ่งกาแซวเป็นที่เหมาะสม เหมาะแก่ผู้ต้องการความสงัดและเป็นที่สะดวกแก่ผู้ต้อง  การบำเพ็ญศาสนกิจ ทั้งเป็นที่สบายแก่การบิณฑบาต จะไปในเมืองก็ไม่ไกล จะไปทางบ้านบุ่งกาแซวก็ไม่ห่าง มีความสะดวก  ทั้งทางบกและทางน้ำ เพราะอยู่ฝั่งแม่น้ำมูล เป็นท่าดี อยู่คุ้งน้ำ จะเข้าจะออกก็สะดวกจึงนำความขึ้น


   กราบทูลทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าฯ ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปราบที่ทาง เริ่มลงมือ เมื่อ พ.ศ. 2393 แต่ประกาศเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2396 และโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า" วัดสุปัฏนาราม " แล้วโปรดให้พระพรหมราชวงค์ไปอาราธนาท่าน พันธุโล ( ดี ) กับท่านเทวธัมมี ( ม้าว ) มาครองวัด ในวันที่ประกาศตั้งวัด ต่อมา พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้น "วรวิหาร" นามว่า " วัดสุปัฏนารามวรวิหาร " พระอุโบสถหลังใหม่ ของ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร พระอุโบสถหลังเดิม มีความยาว 11 วา 2 ศอก กว้าง 8 าไม้แก่นก่ออิฐโอบเสา หลังคาลดเป็น 2 ชั้น มุงด้วย ไม้ มีกระเบื้องช่อฟ้าใบระกา ประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออกสลักลายเครือ ตะวันตกสลักลายดอกไม้ พื้นถมดินปูด้วย กระเบื้องดินเผา และต่อมาพระอุโบสถหลังนี้ได้ผุพังลง ประกอบบริเวณด้านหน้าแคบ ไม่พอแก่กองทหาร กองตำรวจ กอง ลูกเสือ ที่ตั้งแถวในการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี เจ้าอาวาสรูปที่ 7 คือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)  สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระพระราชมุณี เป็นเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี จึงได้นิมนต์พระมหาเถระ ข้าราชการ คหบดีหลาย  ฝ่ายเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน และเห็นควรรื้อถอนพระอุโบสถหลังเก่าออก แล้วปลูกสร้างหลังใหม่ทดแทน ให้เกิด ความมั่นคงถาวร โดยมีเหตุผล 2 ประการ คือ 
1.ให้พ้นทาง หากมีการตัดถนนในอนาคต 
2. ให้พ้นตลิ่งฝั่งแม่น้ำมูล โดยให้หันพระอุโบสถลงสู่แม่น้ำ (ทิศใต้) 


พระอุโบสถหลังใหม่มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร ผู้อำนวยการสร้าง ได้แก่ สมเด็จพระ มหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สถาปนิกผู้ออกแบบ คือ หลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธ์) เป็นช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบ พระอุโบสถมีศิลปะอยู่ 3 ส่วน ส่วนบน(หลังคา) เป็นศิลปะทรงไทย กลางเป็นศิลปะแบบเยอรมันส่วนฐานเป็นของขอมโบราณ 
โดยดำเนินงานตามขั้นตอนดังนี้ 
พ.ศ. 2460 เริ่มเตรียมอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้าง 
พ.ศ. 2463 เริ่มลงมือก่อสร้าง 
พ.ศ. 2473 การก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างหยาบ 
พ.ศ. 2479 จัดงานฉลองทำพิธีผูกพัทธสีมารวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 70,000 บาท 
การก่อสร้างนั้นได้มีตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส โดยมีพระราชมุณีเจ้าคณะมณฑล เป็นประธานหาทุน เจ้าคณะมณฑลได้ออกไปแสดงธรรมตามท้องที่ตำบลต่าง ๆ และให้สมุหเทศาภิบาล ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจ  ฝ่ายปกครอง สั่งให้ราษฎรไปฟังและสละเงินปัจจัยต่างๆ บูชากัณฑ์เทศน์ ลงบัญชีรายได้ไว้เป็นตำบลๆไป การก่อสร้างอิฐโบก ปูน ครั้งแรกได้จ้างช่างจีนและช่างญวน มาทำเป็นตัวอย่าง แล้วคัดเลือกผู้สนใจร่วมทำ พอสามารถทำเองได้ ก็เลิกจ้างช่าง ชาวต่างชาติ ตอนแรกได้ใช้ปูนที่ได้นำมาจากจังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ค่อนข้างไกลและราคาแพง ต่อมาได้สำรวจพบหินปูน
ชนิดเดียวกัน ในเขตตำบลตาลสุม (อำเภอตาลสุมในปัจจุบัน)อำเภอพิบูลมังสาหารในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำมูลและมีความ สะดวกกว่า จึงให้ราษฎรทำปูนขาย ปูนที่ทำขึ้นแม้จะไม่ขาวนักแต่คุณภาพเท่ากับซีเมนต ์ เนื่องจากการก่อสร้างต้องสิ้น เปลืองวัสดุอุปกรณ์มากมาย สมัยนั้นยังไม่มีผู้ที่ทำไว้จำหน่าย จึงได้ตั้งโรงงานช่างขึ้น แล้วสอนแบบก่อสร้าง สอนวิชาปั้น และก่อเตาเผาอิฐ สอนวิธีสีข้าว โดยวัดเป็นผู้ควบคุมดูแล เจ้าหน้าที่บ้านเมืองคือสมุหเทศบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดและ ข้าราชการให้การสนับสนุนจนได้รับความสำเร็จ การตั้งโรงงานนี้ นับว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ที่ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ ซึ่ง ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมา การก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2479 ลักษณะของพระอุโบสถเป็นอาคารขนาดใหญ่ กว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูงจากพื้นถึงช่อฟ้า 22 เมตร สร้างคล้ายทรงพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 (อิทธิพลจีน) คือ ตัว อาคารมีชาลา (ระเบียง) เสานางจรัล(เสานางเรียง) ทรงสี่เหลี่ยมล้อมรอบระหว่างเสาก่ออิฐเป็นรูปโค้งเรือนแก้ว (โค้งแหลม แบบโกธิคของฝรั่งเศส) ตัวอาคารไม่ทำหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูโดยรอบทั้งทางด้านหน้าและด้านข้าง หลังคาทรงจั่ว ชั้น เดียวมีพะไร(ปีกนก) 2 ข้าง คลุมชาลา หน้าจั่วเรียบเต็มเสมอเสาด้านหน้า (คล้ายโบสถ์อิทธิพลจีนสมัยรัชกาลที่ 3 ) มีลายปูน ปั้น เป็นลายไทยผีมือช่างญวน (เป็นลายไทยที่ไม่มีเอกลักษณ์ของลายไทยอยู่เลย ตัวลายลีบช่องไฟกว้าง ไม่ได้สัดส่วน) ช่อฟ้า รวยลำยองเป็นรูปพญานาคแบบญวน เชิงบันไดทั้ง 4 ด้าน ปั้นปูนรูปสิงโตหมอบยิ้มอยู่มุมละ 1 ตัว ซึ่งแตกตางไปจากโบสถ์ อื่นๆ ที่นิยมทำพญานาคเฝ้าบันได ส่วนที่หน้าพระอุโบสถ มีจารึกโบราณสมัยขอมหลายชิ้น เช่น จารึกถ้ำหมาไน ทับหลัง เฉพาะทับหลัง กล่าวกันว่า เป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 12-13) สิ่งที่สำคัญภายในวัด 1. พระประธานในพระอุโบสถ นามว่า พระสัพพัญญูเจ้า 
2. พระพุทธสิหิงค์ ( จำลอง ) ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงครามอัญเชิญมาประดิษฐาน 
3. พระพุทธรูปประทานพร สมัยสุโขทัย 1 องค์ สมเด็จพระมหาวีรวงค์ติสโสประทานมา 
4. พระพุทธรูปศิลา นาคปรกสมัยลพบุรี 3 องค์ สมเด็จพระมหาพระมหาวีรวงค์ติสโสประทานมา 
5. พระพุทธรูปประทานพร สมัยอยุธยา 1 องค์ สมเด็จพระวีรวงค์ติสโสประทานมา 
6. พระแก้วขาวเพชรน้ำค้างสมาธิ 1 องค์ สมเด็จพระมหาวีรวงค์ติสโสประทานมา 
7. พระบรมสารีริกธาตุ และอรหันตธาตุ สมเด็จพระมหาวีรวงค์ติสโสประทานมา 
8. รูปหล่อ ( โลหะ ) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( สิริจันโท จันทร์ ศุภสร ) 
9. รูปหล่อ ( โลหะ ) สมเด็จพระมหาวีรวงค์ ( ติสโส อ้วน แสนทวีสุข ) 
10. หอพิพิธภัณฑ์วรวัตถุโบราณต่าง ๆ 
11. หอปริยัติธรรม อาคารเรียนตึกวิทยาคาร เป็นที่ตั้งยุวพุทธิกสมาคมและศูนย์พุทธเยาวชนเป็นศูนย์กลางการศึกษา ทั้งนักธรรม บาลีและสามัญศึกษา 
ประวัติพระประธานในพระอุโบสถ  พระประธานในพระอุโบสถ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ชื่อว่า พระสัพพัญญูเจ้าเป็นพระที่หล่อขัดเงาสิ้นโลหะ 30 หาบ พระอุปัชฌายะสีทาอดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาเป็นช่างโดยหล่อที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์หน้า วัดสุปัฏนาราม นั่นเอง เริ่มการหล่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2459 เวลา 04.03 น. แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2459 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 คืบ (ก่อนพ.ศ.2483 ประเทศไทยนับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีและนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้าย เดือนกรกฎาคมจึงมาก่อน) 
คำว่า สุปัฏนาราม มีความหมาย 2 นัย คือ 
1.หมายถึงวัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล มีท่าเรือที่ดี สะดวกในการในการเดินทางและบิณฑบาต 
2.หมายถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นศาสนสถานเปรียบดังเรือที่ส่งมนุษย์ข้ามโอฆสงสารไปได้





‘พระสัพพัญญูเจ้า’ 
วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 


“พระสัพพัญญูเจ้า” เป็นพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ คืบ หล่อขัดเงา ไม่ปิดทอง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประวัติ “วัดสุปัฏนารามวรวิหาร” หรือ “วัดสุปัฏนาราม” แห่งนี้เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ปัจจุบันวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร และเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานีมีเนื้อที่อาณาเขตทั้งสิ้น ๒๑ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ถนนสุปัฏ ต.ในเมือง อ.เมือง มีทำเลที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำมูล สร้างในสมัยพระพรหมราชวงศา (พระอุปราชกุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ 
สำหรับการพระราชทานนามว่า “วัดสุปัฏนาราม” มีความหมายของคำ ๒ นัย คือ 


(๑) หมายถึงวัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเพื่อเป็นท่าเรืออย่างดี เพราะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล สะดวกต่อการเดินทางและการออกบิณฑบาต 


(๒) หมายถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นศาสนสถานเปรียบดั่งท่าเรือ ที่ให้มวลมนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารไปได้


การสร้างวัดสุปัฏนารามนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น คือ พระพรหมราชวงศา เลือกพื้นที่สำหรับดำเนินการสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า บริเวณท่าเหนือช่วงบ้านบุ่งกาแซว (ปัจจุบันเป็นชุมชนบุ่งกาแซว ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร) เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่บำเพ็ญศาสนกิจ และสะดวกต่อการโคจรบิณฑบาต จึงก่อสร้างวัดให้เสร็จสิ้นลงเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ 


ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมราชวงศาอาราธนาพระพันธุโลเถร (ดี) และพระเทวธมมี (ม้าว) มาครองวัด จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๗๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่สมกับเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ว่า “วัดสุปัฏนารามวรวิหาร” 


กล่าวได้ว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการศาสนา มี “พระอุโบสถ” เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน โดยหลังคาเป็นแบบไทย ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถเป็นแบบยุโรป (เยอรมัน) ส่วนฐานสร้างแบบขอมโบราณ 


ลักษณะโดดเด่นอีกประการ คือ ตัวพระอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูโดยรอบ มีขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สูง ๒๒ เมตร สำหรับสถาปนิกผู้ออกแบบพระอุโบสถหลังใหม่นี้ คือหลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธุ์) นายช่างทางหลวงแผ่นดินสร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ แล้วเสร็จ พ.ศ.๒๔๗๓ สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๐,๐๐๐ บาท 


ส่วนพระอุโบสถหลังเดิม มีขนาดกว้าง ๘ ศอก ยาว ๑๑ วา ๒ ศอกสร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยพระอุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรม ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์จึงได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่นี้ขึ้นแทน เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน อันมีนามว่า “พระสัพพัญญูเจ้า” 


“พระสัพพัญญูเจ้า” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ ก่อนการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ คืบ หล่อขัดเงา ไม่ปิดทอง เริ่มการหล่อเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๙ เวลา ๐๔.๐๓ น. แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๙ (ก่อน พ.ศ.๒๔๘๓ ประเทศไทยได้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี และนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี) ตั้งประดิษฐานรวมกับพระพุทธรูปสำคัญองค์อื่นๆ อีกหลายองค์ทั้งนี้ โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นองค์ผู้นำพาในการหล่อ “พระสัพพัญญูเจ้า” และในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่


นอกจากนี้ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ยังมี ‘หอศิลปวัฒนธรรม’ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ทับหลัง ศิลาจารึก ที่ได้มาจากถ้ำภูหมาไน (ตั้งอยู่ในอำเภอสิรินธร) เป็นจารึกที่มีข้อความคล้ายกับจารึกจิตรเสน ในสมัยเจนละ รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้ศรัทธารวบรวมมาถวายให้เป็นสมบัติของวัด หอศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้เฉพาะเทศกาลสำคัญเท่านั้น


ส่วนการเข้ากราบไหว้บูชา “พระสัพพัญญูเจ้า”วัดเปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ได้อย่างใกล้ชิดทุกวันตามกำลังศรัทธา สิ่งที่ใช้ในการนมัสการ-กราบไหว้ขอพร ก็เป็นดอกไม้ธูปเทียนทั่วไป ไม่ได้มีการเน้นสิ่งใดเป็นกรณีพิเศษแต่ประการใด 


ในอดีตชาวเรือที่เป็นชาวประมงน้ำจืดริมฝั่งแม่น้ำ หรือเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่ใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางค้าขาย จะเลื่อมใสศรัทธาขอให้พระสัพพัญญูเจ้า เป็นผู้คอยปกปักรักษาภัยอันตรายต่างๆ ในการทำมาหากิน พระสัพพัญญูเจ้าจึงได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก 


ถึงแม้ปัจจุบันการทำการค้าผ่านเส้นทางน้ำได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ยังเข้ามากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันสำคัญ ผู้คนจะหลั่งไหลมากราบไหว้ขอพรจากองค์พระสัพพัญญูเจ้าไม่ขาดสาย

   

PostHeaderIcon วัดหนองบัว

อยู่ชานเมืองอุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตรตามถนนเลี่ยงเมือง จะมีทางแยกจากถนนใหญ่เข้าไปประมาณ 700 เมตร ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 โดยได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น 

PostHeaderIcon วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง)

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด ถนนอุปราช สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 วัดนี้มีพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ “พระแก้วบุษราคัม” เป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุศราคัม ตามตำนานเล่ากันว่า พระวรราชภักดี(พระวอ) พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตาคือ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหมและท้าวก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี ได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เดิมทีพระแก้วบุษราคัมประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนารามในเวลาต่อมา ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ทางราชการได้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเป็นองค์ประธานในพิธี โดยถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสืบกันมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอุบลราชธานีจะร่วมใจกันอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการกราบไหว้และสรงน้ำกันโดยถ้วนหน้า